แชร์

คปภ. ออกแนวปฏิบัติใหม่ คุมเข้มความเสี่ยงประกันภัยต่อ ยกระดับการบริหารจัดการ สร้างเสถียรภาพให้บริษัทประกันวินาศภัย

อัพเดทล่าสุด: 8 เม.ย. 2025
57 ผู้เข้าชม

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ออกประกาศแนวปฏิบัติที่ดี ในการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2568 เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการประกันภัยต่อให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการทำกิจกรรมด้านการประกันภัยต่อ เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัย มีการบริหารการประกันภัยต่อและการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อที่ดี มีการปฏิบัติอย่างรอบคอบและครอบคลุม ตามประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๖๖

นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการ ด้านกำกับธุรกิจประกันภัย สำนักงาน คปภ. เปิดเผยว่า แนวปฏิบัติดังกล่าวมุ่งเน้นให้บริษัทประกันวินาศภัยมีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมและรอบคอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลักสำคัญ ได้แก่

1. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อ บริษัทต้องควบคุมความเสี่ยงสำคัญให้ครบถ้วน ไม่เพียงแต่เฉพาะความเสี่ยง ด้านเครดิต ด้านการปฏิบัติการ ด้านการกระจุกตัว ด้านสภาพคล่อง เท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ ทำประกันภัยต่อไม่เพียงพอ หรือความเสี่ยงที่เกิดใหม่จนส่งผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทด้วย

2. การรายงานกรอบการบริหารการประกันภัยต่อของบริษัท บริษัทต้องกำหนดนโยบายประกันต่อโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการทำกำไร ฐานะเงินกองทุน ในการบริหารความเสี่ยง บริษัทต้องกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ระดับความเสี่ยงสูงสุดที่ยอมรับได้ (risk tolerance) ขีดจำกัดในการรับเสี่ยงภัยไว้เอง (retention limits) ที่ชัดเจน ในการจัดทำแผนการประกันภัยต่อ บริษัทต้องประเมินความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ (Probable Maximum Loss : PML) กำหนดระดับการรับเสี่ยงภัยไว้เองสูงสุดต่อเหตุการณ์ (Maximum Event Retention : MER) มาตรการป้องกันและแผนรองรับ สำหรับดำเนินการให้กลับมาอยู่ภายใต้สภาวะปกติตามระดับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับประกันภัยต่อและการใช้บริการนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางการเงินและความรู้ความเชี่ยวชาญด้วย นอกจากนี้ บริษัทต้องมีกระบวนการติดตามผล ตรวจสอบและทบทวนการบริหารการประกันภัยต่ออย่างสม่ำเสมอ โดยผู้บริหารมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ทบทวนแนวทางการบริหารการประกันภัยต่อเป็นประจำทุกปี และจัดส่งรายงานต่อสำนักงาน คปภ. ภายใน 90 วันหลังจากรอบวันที่รอบระยะเวลลาสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาที่เป็นรอบหลักมีผลใช้บังคับ

แนวปฏิบัติใหม่นี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย และส่งเสริมความมั่นคงของ ภาคธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถใช้การประกันภัยต่อเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม (Enterprise Risk Management : ERM) เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบประกันภัยโดยรวมต่อไป รองเลขาธิการ ด้านกำกับธุรกิจประกันภัย กล่าวในตอนท้าย

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
อลิอันซ์ อยุธยา เสิร์ฟรอยยิ้มและความอบอุ่น ผ่านกิจกรรม Family Day 2025  ชวนลูกค้าคนพิเศษสนุกยกครอบครัว ณ สวนสนุกดรีมเวิลด์
อลิอันซ์ อยุธยา มอบช่วงเวลาแห่งความสุขให้ลูกค้าคนพิเศษ สนุกกันทั้งครอบครัว กับกิจกรรมครอบครัวที่ทุกคนรอคอย Family Day 2025 ณ สวนสนุกดรีมเวิล์ด
28 เม.ย. 2025
อลิอันซ์ อยุธยา ทำบุญครบรอบ 74 ปี พร้อมจัดกิจกรรม “ให้...ไม่รู้จบ”
อลิอันซ์ อยุธยา จัดงานทำบุญครบรอบ 74 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
28 เม.ย. 2025
เอไอเอ ประเทศไทย จัดกิจกรรม “เอไอเอ แชร์ริ่ง อะ ไลฟ์” ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “Healthier You เริ่มต้นที่การฉีดวัคซีน” มอบบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้แก่คนไทยทั่วประเทศ
เอไอเอ ประเทศไทย พร้อมยังมอบบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้แก่เจ้าหน้าที่กวาดถนนและเก็บขยะของกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต จำนวนรวม 10,000 เข็มโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
26 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy