แชร์

นโยบาย Tariff รอบใหม่กับความโกลาหลของการค้าโลก  ใครได้ ใครเสีย

อัพเดทล่าสุด: 9 ก.พ. 2025
117 ผู้เข้าชม

หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง ความชัดเจนต่อนโยบายการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็เริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบาย America First ที่สหรัฐฯ จะนำผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้ง

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า นโยบายทรัมป์ 2.0 จะยังคงใช้ภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสหรัฐฯ ซึ่งเราได้เห็นนโยบายต่างประเทศ ของสหรัฐฯ มีการใช้ภาษีนำเข้า เป็น เครื่องมือในการเจรจา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการเมืองและความมั่นคง ในประเด็นเรื่องคนลักลอบเข้าเมืองและปัญหายาเสพติด รวมถึงความต้องการขยายดินแดนและอิทธิพลไปนอกสหรัฐฯ อาทิ คลองปานามา กรีนแลนด์ และแคนาดา

ในแนวคิดของรัฐบาล ทรัมป์ วาระแรก ได้มีการขึ้นภาษีนำเข้า โดยเฉพาะจากจีน และมีการเปลี่ยนสนธิสัญญา ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA(North American Free Trade Agreement) มาเป็น ข้อตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา หรือ USMCA (United States-Mexico-Canada Agreement) โดยสงครามการค้า มีผลลบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ น้อยกว่าประเทศอื่นที่ค้าขายกับสหรัฐฯ

สะท้อนจากแนวคิด ที่นาย Robert Lightizer ซึ่งเป็นมันสมองของการวางกลยุทธ์สงครามการค้ารอบแรก ได้กล่าวว่า สหรัฐฯ ควรจะมองจีนเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่ง ทั้งด้านการทหาร เศรษฐกิจ และความมั่นคง เนื่องจากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากๆ ไม่เป็นผลดีกับสหรัฐฯ ในระยะยาว เพราะฉะนั้นนโยบายต่างๆ จึงต้องการบรรลุเป้าการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน และลดการขาดดุลการค้า
นอกจากนั้น สหรัฐฯ ยังต้องการให้มีการสร้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ และยังมีแนวคิดที่ว่า แม้แต่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ก็ได้มีการเอาเปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเม็กซิโก แคนาดา สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเทศไทย น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการที่ประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 10 ของโลก ดังนั้น กลยุทธ์ของไทยในการรับมือคงต้องเปิดตลาดให้กับธุรกิจสหรัฐฯ มากขึ้น หรือเพิ่มการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ เพื่อลดการได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ นอกจากนี้ หากผลกระทบจากสงครามการค้าขยายวงกว้าง เฟดอาจจะไม่สามารถลดดอกเบี้ยเพิ่ม จากที่คาดว่าจะลดลง 2 ครั้งในปีนี้
      
นโยบายทรัมป์ 2.0 จะเน้น การสร้างความมั่นคง ทางด้านเศรษฐกิจ และการทหาร ให้กับสหรัฐฯ เป็นหลัก เราจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่สหรัฐฯ จะใช้ความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจของตนเองเป็นเครื่องมือต่อรอง ให้สหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์อย่างมากที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง
Money20/20 Asia เคาะสตาร์ทอัพมาแรงของวงการทั้ง 6 ที่พร้อมนิยามอุตสาหกรรมฟินเทครุ่นใหม่แห่งยุค ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
การแนะนำเหล่าสตาร์ทอัพมาแรงที่ได้การคัดเลือกที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทอันสำคัญเชิงลึกและความหลากหลายของเทคโนโลยีทางการเงินในภูมิภาค ตั้งแต่เครื่องมือการลงทุนที่ขับเคลื่อนด้วย AI และแพลตฟอร์มการเงินแบบกระจายอำนาจ หรือ DeFi ไปจนถึงเทคโนโลยีทางการเงินที่เหมาะสมกับยุคสมัยของธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศดิจิทัลที่ยิ่งใหญ่
24 เม.ย. 2025
Money20/20 เปิดงานวันแรกอย่างคึกคัก คาดอุตสาหกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศของเอเชียโตถึง 23.8 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี พ.ศ.2575 พร้อมกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่องตั้งเเต่วันนี้ถึง 24 เมษา ณ ศูนย์สิริกิติ์
ผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการเงินกว่าร้อยละ 88 เล็งเห็นว่าการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนอีกร้อยละ 91 กล่าวว่าความร่วมมือจะช่วยกำหนดโครงสร้างพื้นฐาน
23 เม.ย. 2025
กลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว ออร์บิกซ์ กรุ๊ป ให้บริการที่ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในงานฟินเทคระดับโลก Money20/20 Asia
กลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมงาน Money 20/20 Asia ซึ่งเป็นงานสัมมนาด้านฟินเทคระดับโลก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
22 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy